โรคหัดเยอรมันมีอาการอย่างไร
โรคหัดเยอรมันหรือรูเบลล่า (Rubella) โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอาการไข้และผื่นทั่วตัว ในเด็กส่วนใหญ่ อาการไม่รุนแรง แต่เป็นโรคที่มีความสำคัญเพราะถ้าสตรีมีครรภ์เป็นโรคหัดเยอรมันในระยะ 3-4 เดือนแรก เชื้อไวรัสจะผ่านไปยังทารกในครรภ์ ทำให้เกิดความพิการทางหู ตา หัวใจ และสมอง โรคหัดเยอรมันสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน
เกิดจาก ไวรัส Rubella เป็น RNA ไวรัส ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Togaviridae และในกลุ่ม Rubivirus เชื้อหัดเยอรมันซึ่งเป็นไวรัสที่ชื่อว่า รูเบลลา(Rubella)เชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วย ติดต่อได้โดยการไอ จาม หายใจรดกัน เช่นเดียวกับโรคหวัดหรือโรคหัด ระยะฟักตัว 14-21 วันต่อมน้ำเหลืองโต(ที่หลังหู หลังคอ และท้ายทอย)
อาการและอาการแสดง
ในเด็กโตจะเริ่มด้วยต่อมน้ำเหลืองที่หลังหู ท้ายทอยและด้าน หลังของลำคอโต และเจ็บ เล็กน้อย เด็กโตจะรู้สึกไม่สบาย ปวดหัว ไข้ต่ำ ๆ มีอาการคล้ายเป็นหวัด เจ็บคอร่วมด้วย 1-5 วัน ประมาณวันที่ 3 ผื่นจะขึ้นเป็นสีชมพูจางๆ กระจายอยู่ห่าง ๆ เป็นแบบ Macular rash เริ่มขึ้น ที่หน้าแล้วลามไปทั่วตัวอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ผื่นเห็นชัดเจนบริเวณแขนขา และจะหาย ไปในเวลา 1-2 วัน และสีผิวหนังจะกลับเป็นปกติ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีไข้สูงกว่าในเด็ก บางราย อาจมีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบร่วมด้วย โดยเฉพาะใน ผู้หญิง
Congenital rubella อาการแตกต่างกัน แล้วแต่ระยะที่แม่ติด เชื้อ ถ้าแม่เป็นในระยะ ตั้งครรภ์ 1-4 สัปดาห์ จะพบทารกมีความ พิการได้ถึงร้อยละ 30-50 สัปดาห์ที่ 5-8 พบได้ร้อยละ 25 และ สัปดาห์ที่ 9-12 พบพิการได้ร้อยละ 8 ความพิการที่พบได้บ่อยคือ ความพิการทางตา (พบเป็น ต้อกระจก ตาเล็ก ต้อหิน) ความพิการที่ หัวใจ หูหนวก ความผิดปกติทางสมอง สมอง และหัวเล็ก แรกเกิดจะพบมีตับ ม้ามโต มีอาการ ตัวเหลือง มีจ้ำเลือดตามตัว และเกล็ดเลือดต่ำ อาการผิดปกติเหล่านี้พบได้ในความรุนแรงต่างกัน และอาจพบได้หลายอย่างร่วมกัน
ติดต่อจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการหายใจเอาเสมหะ หรือน้ำลายของผู้ป่วยซึ่งจาม หรือไอออกมา ระยะติดต่อ 1 อาทิตย์ก่อนและหลังออกผื่น
การรักษาเมื่อเป็นหัดเยอรมัน
ถ้าพบในเด็กหรือผู้ใหญ่ทั่วไปที่ไม่ตั้งครรภ์ ให้การรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้พารา เซตามอล ผู้ใหญ่ ครั้งละ 1-2 เม็ด ( 500 มิลลิกรัม )ทุก 4-6 ชั่วโมง ในเด็กให้ชนิดน้ำเชื่อม อายุต่ำกว่า 1 ปี 1/2 ช้อนชา อายุ 1-4 ปี 1 ช้อนชา อายุ 4-7 ปี ให้ 1 1/2 ช้อนชา
ในรายที่มีอาการคันให้ยาทาแก้ผื่นคัน คาลาไมน์โลชั่น (Calamine lotion) ทาบริเวณ ที่คัน วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าพบในหญิงตั้งครรภ์ระยะ 3 เดือนแรกแนะนำผู้ป่วยให้ไปโรงพยาบาล อาจต้องตรวจ เลือดพิสูจน์ถ้าเป็นจริง อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์
การป้องกันโรคหัดเยอรมัน
การป้องกันโรคหัดเยอรมัน
โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน ครั้งแรกใน ตอนอายุ 9-15 เดือน สำหรับใน ท้องที่ห่างไกลในปัจจุบันนี้ ได้้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ให้ในโรงเรียนนักเรียนชั้นประ ถมปีที่ 1 และนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ผู้ปกครองที่มีข้อสงสัย บุตรหลานตนเองได้รับหรือไม่ให้สอบถามสถานีอนามัยใกล้ บ้านหรือศูนย์สุขภาพชุมชน อันตรายของโรคนี้คือถ้าเป็นใน หญิงตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้
อาจทำให้ข้อนิ้วมือ และนิ้วเท้าอักเสบเล็กน้อย สมองอักเสบอาจพบได้บ้างข้อสำคัญคือ ถ้าเป็นในหญิงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกอาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้พบทารกพิการถึงร้อยละ 10-50 ภายในเดือนที่ 2 พบได้ร้อยละ 14-25 ภายในเดือนที่ 3 และหลัง 3 ดือน พบได้ร้อยละ 0-5 อาการที่พบในทารกที่คลอดออกมา ต้อกระจก ต้อหิน หูหนวก หัวใจพิการที่พบบ่อย เช่น น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ ตับอักเสบ(ดีซ่าน) สมองอักเสบ ปัญญาอ่อน ซึ่งความพิการเหล่านี้ อาจเกิดร่วมกัน หรือเกิดเพียงอย่างเดียวก็ได้
No comments:
Post a Comment