โรคไทรอยด์ เกิดจากอะไร
ไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ ส่งผลเสียอย่างร้ายกาจทีเดียวหากมันทำงานผิดปกติ ซึ่งต่อมไทรอยด์นี้มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้ทุกระบบปรวนแปร ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง โดยเฉพาะต่อประสาทการทำงานอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้
โรคไทรอยด์มากกว่าครึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (หรือเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด หรืออิมมูนซิสเต็ม) ซึ่งโรคนี้ผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยรุนแรงไม่เท่ากัน การรักษาจึงทำได้ในระดับที่ควบคุมให้ภาวะของโรคนั้นเบาลง หรือทำให้โรคสงบ และทำให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด ซึ่งการรักษาในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะให้กินยาต่อเนื่องในระยะยาว ในขณะที่วงการแพทย์ยังพยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุต่อไป
สาเหตุที่มาจากพันธุกรรมและไวรัส เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมดูแลได้ แต่สำหรับความเครียด และภูมิคุ้มกันนั้น เป็นเรื่องที่เราสามารถดูแลป้องกันตัวเองได้ โดยธรรมชาติ เวลาคนเราเครียด ร่างกายจะมีกลไกที่ทำให้ฮอร์โมนหลั่งออกมาจากส่วนต่างๆ เพื่อช่วยให้มีพละกำลัง มีความสามารถ หรือมีอะไรบางอย่างที่มากกว่าภาวะปกติ มาขับดันตัวเราให้เอาชนะความกดดันนั้นไปได้ และผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการในร่างกายนั้นมีมากมาย โดยเฉพาะในต่อมไร้ท่อ ไม่ว่าจะเป็นต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง รวมทั้งในระดับเซลล์ ระดับอวัยวะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายตามมา ที่สำคัญคุณหมอยังเล่าให้ฟังถึงผลการวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าความเครียดมีส่วนไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่อาจจะไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมา
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้ออยู่บริเวณหลอดลมใต้กล่องเสียง มีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮาร์โมน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของร่างกาย โดยมีผลต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ต่อมไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร
ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮาร์โมนออกมามากกว่าปกติ เป็นผลทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานมากเกินไปส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ และอาจพบอาการผิดปกติทางตาร่วมด้วย โดยมีอาการตาแห้งระคายเคือง ตาแดงมองเห็นภาพซ้อน มีการบวมรอบหนังตา ตาโปน (เฉพาะในรายที่มีอาการทางตามาก) นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติทางผิวหนัง โดยผิวหนังจะนูนบวม พบบ่อยบริเวณหน้าแข้ง อาการของโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
-ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นเร็วและแรง หากมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ
-เหนื่อยง่ายกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น บริเวณต้นแขน ต้นขา
-หิวบ่อย รับประทานอาหารจุ แต่กลับมีน้ำหนักลดลง ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
-เครียด กังวล หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ นอนไม่หลับ มือสั่น ต่อมไทรอยด์โต สาเหตุการเกิดโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคนี้ แต่อาจมีสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคเกรฟ (Graves’ disease) จะมีอาการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย มีการสร้างสารซึ่งกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้สร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เป็นผลให้เกิดอาการของโรค การวินิจฉัยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
จากลักษณะอาการทางร่างกายและการตรวจเลือดพบระดับไทรอยด์ฮอร์โมนสูง การรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ 1.การรักษาโดยการรับประทานยา เพื่อลดการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ มักเลือกรักษาผู้ป่วยเด็ก สตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ระยะเวลาในการรักษา 2ปี ผู้ป่วยควรได้รับการเจาะเลือดและตรวจเป็นระยะเวลาห่าง 2-3เดือน การหายขาดร้อยละ 30-50ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ ผื่นคัน รสขม คลื่นไส้ และภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งจะแสดงอาการโดยมีการติดเชื้อ ผู้ป่วยมักมีไข้สูงและเจ็บคอ
มากมักเกิดในช่วง 3เดือนแรกหลังรับประทานยา ภาวะนี้พบน้อยมากหากมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและรีบมาพบแพทย์ 2.การรักษาโดยการกลืนน้ำแร่ มักเลือกรักษาในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ ในกรณีที่ผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำ ห้ามให้น้ำแร่รังสีในสตรีมีครรภ์ เมื่อผู้ป่วยทานน้ำแร่เข้าไปรังสีจะไปทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์มีผลทำให้การสร้างฮอร์โมนน้อยลง หลังการรักษาผู้ป่วยควรคุมกำเนิดในช่วง 6เดือน การรักษาโดยการทานน้ำแร่มักทำเพียงครั้งเดียวหายขาด ผลข้างเคียงที่อาจพบ คือมีโอกาสเกิดภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนถาวรสูง จากการที่ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายมากกว่าปกติ ซึ่งหากพบภาวะนี้ผู้ป่วยต้องทานยาไทรอยด์ฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต 3.การผ่าตัด การรักษาโดยวิธีนี้มีโอกาสหายสูง อาการดีขึ้นเร็ว ผู้ป่วยจะต้องมีความพร้อมทางร่างกายก่อนการผ่าตัด ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การผ่าตัดอาจทำลายเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียง ทำให้เสียงแหบได้ การผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ผู้ชำนาญจะทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยลง
โรคไทรอยด์มากกว่าครึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (หรือเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด หรืออิมมูนซิสเต็ม) ซึ่งโรคนี้ผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยรุนแรงไม่เท่ากัน การรักษาจึงทำได้ในระดับที่ควบคุมให้ภาวะของโรคนั้นเบาลง หรือทำให้โรคสงบ และทำให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด ซึ่งการรักษาในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะให้กินยาต่อเนื่องในระยะยาว ในขณะที่วงการแพทย์ยังพยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุต่อไป
สาเหตุที่มาจากพันธุกรรมและไวรัส เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมดูแลได้ แต่สำหรับความเครียด และภูมิคุ้มกันนั้น เป็นเรื่องที่เราสามารถดูแลป้องกันตัวเองได้ โดยธรรมชาติ เวลาคนเราเครียด ร่างกายจะมีกลไกที่ทำให้ฮอร์โมนหลั่งออกมาจากส่วนต่างๆ เพื่อช่วยให้มีพละกำลัง มีความสามารถ หรือมีอะไรบางอย่างที่มากกว่าภาวะปกติ มาขับดันตัวเราให้เอาชนะความกดดันนั้นไปได้ และผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการในร่างกายนั้นมีมากมาย โดยเฉพาะในต่อมไร้ท่อ ไม่ว่าจะเป็นต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง รวมทั้งในระดับเซลล์ ระดับอวัยวะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายตามมา ที่สำคัญคุณหมอยังเล่าให้ฟังถึงผลการวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าความเครียดมีส่วนไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่อาจจะไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมา
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้ออยู่บริเวณหลอดลมใต้กล่องเสียง มีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮาร์โมน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของร่างกาย โดยมีผลต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ต่อมไทรอยด์เป็นพิษคืออะไร
ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮาร์โมนออกมามากกว่าปกติ เป็นผลทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานมากเกินไปส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ และอาจพบอาการผิดปกติทางตาร่วมด้วย โดยมีอาการตาแห้งระคายเคือง ตาแดงมองเห็นภาพซ้อน มีการบวมรอบหนังตา ตาโปน (เฉพาะในรายที่มีอาการทางตามาก) นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติทางผิวหนัง โดยผิวหนังจะนูนบวม พบบ่อยบริเวณหน้าแข้ง อาการของโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
-ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นเร็วและแรง หากมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ
-เหนื่อยง่ายกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น บริเวณต้นแขน ต้นขา
-หิวบ่อย รับประทานอาหารจุ แต่กลับมีน้ำหนักลดลง ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
-เครียด กังวล หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ นอนไม่หลับ มือสั่น ต่อมไทรอยด์โต สาเหตุการเกิดโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคนี้ แต่อาจมีสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคเกรฟ (Graves’ disease) จะมีอาการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย มีการสร้างสารซึ่งกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้สร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เป็นผลให้เกิดอาการของโรค การวินิจฉัยโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
จากลักษณะอาการทางร่างกายและการตรวจเลือดพบระดับไทรอยด์ฮอร์โมนสูง การรักษาโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ 1.การรักษาโดยการรับประทานยา เพื่อลดการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ มักเลือกรักษาผู้ป่วยเด็ก สตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ระยะเวลาในการรักษา 2ปี ผู้ป่วยควรได้รับการเจาะเลือดและตรวจเป็นระยะเวลาห่าง 2-3เดือน การหายขาดร้อยละ 30-50ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ ผื่นคัน รสขม คลื่นไส้ และภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งจะแสดงอาการโดยมีการติดเชื้อ ผู้ป่วยมักมีไข้สูงและเจ็บคอ
มากมักเกิดในช่วง 3เดือนแรกหลังรับประทานยา ภาวะนี้พบน้อยมากหากมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและรีบมาพบแพทย์ 2.การรักษาโดยการกลืนน้ำแร่ มักเลือกรักษาในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ ในกรณีที่ผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำ ห้ามให้น้ำแร่รังสีในสตรีมีครรภ์ เมื่อผู้ป่วยทานน้ำแร่เข้าไปรังสีจะไปทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์มีผลทำให้การสร้างฮอร์โมนน้อยลง หลังการรักษาผู้ป่วยควรคุมกำเนิดในช่วง 6เดือน การรักษาโดยการทานน้ำแร่มักทำเพียงครั้งเดียวหายขาด ผลข้างเคียงที่อาจพบ คือมีโอกาสเกิดภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนถาวรสูง จากการที่ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายมากกว่าปกติ ซึ่งหากพบภาวะนี้ผู้ป่วยต้องทานยาไทรอยด์ฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต 3.การผ่าตัด การรักษาโดยวิธีนี้มีโอกาสหายสูง อาการดีขึ้นเร็ว ผู้ป่วยจะต้องมีความพร้อมทางร่างกายก่อนการผ่าตัด ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การผ่าตัดอาจทำลายเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียง ทำให้เสียงแหบได้ การผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ผู้ชำนาญจะทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยลง
No comments:
Post a Comment