Popular Posts

Wednesday, April 10, 2013

โรคอวดเกิดจากอะไร


โรคอวดเกิดจากอะไร

 โรคอ้วน (obesity) เป็นโรคเรื้อรังจากหลายปัจจัยเนื่องจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงๆ ยังไม่รู้แน่ชัดว่าโรคอ้วนเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไมต้องเกิดขึ้น แต่มีความเกี่ยวข้องโดยรวมกับปัจจัยด้านสังคม พฤติกรรม วัฒนธรรม สรีรวิทยา การเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน (metabolism) และพันธุกรรมเมื่อใดเรียกว่าอ้วน-ผอม? เกณฑ์การตัดสินความอ้วนผอม มีหลายวิธี เช่น
 
 
1. ใช้ตารางมาตรฐาน โดยใช้ตารางเทียบส่วนสูงกับน้ำหนักที่ควรจะเป็น โดยกำหนดว่าอ้วน เมื่อน้ำหนักเท่ากับหรือเกิน 20%ของค่าสูงสุดของเกณฑ์มาตรฐาน


2. หาค่าดัชนีความหนาของร่างกาย (body mass index; BMI) ซึ่งนิยมใช้กันในปัจจุบัน คำนวณหาได้จากสูตร
ดัชนีความหนาของร่างกาย = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม/(ส่วนสูงเป็นเมตร)
 
2.1 เพิ่มอัตราการตาย
2.2 อัตราการเกิดโรคในระบบต่างๆ มากขึ้น เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด
สาเหตุของความอ้วนความอ้วนในผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ (99%) แต่อย่างไรก็ตามแพทย์จะต้องตรวจหาสาเหตุอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดความอ้วนขึ้นได้ เช่น
 
1. ภาวะบวม
2. โรคทางต่อมไร้ท่อ เช่น โรคของไฮโปธาลามัส เป็นต้น
3. ยาบางชนิด เช่น อินซูลิน ยาคุมกำเนิด เป็นต้น
4. โรคทางกรรมพันธุ์บางอย่างการรักษา
 
การลดน้ำหนักทำได้ 4 ประการคือ1. ควบคุมอาหาร ไม่ใช่การอดอาหาร แต่ปรับเปลี่ยนสัดส่วนของอาหารให้มีอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำแทนที่จะรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง อาหารที่ควรงดได้แก่
 
1.1 อาหารกลุ่มไขมัน เพราะให้พลังงานสูง เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ เป็นต้น
1.2 อาหารกลุ่มน้ำตาล (simple sugar) เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เค้ก เป็นต้น เพราะว่าอาหารเหล่านี้กระตุ้นความอยากได้อย่างดี
1.3 อาหารพวกเครื่องดื่ม เช่น น้ำอัดลม เป็นต้น
1.4 ควรรับประทานอาหารพวกผัก เช่น คะน้า ถั่วฝักยาว เป็นต้น
1.5 อาหารพวกแป้งรับประทานได้ แต่น้อยลง และเลือกชนิดรับประทานที่มีไฟเบอร์สูง
1.6 อาหารพวกผลไม้ ควรจำกัดจำนวนเช่นกัน
 
2. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายช่วยทำให้มีการใช้พลังงาน ถ้าควบคุมอาหารโดยไม่ออกกำลังกาย จะต้องอดอาหารอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่สามารถทำได้ ดังนั้น การออกกำลังกายจะเป็นส่วนเสริมในการลดน้ำหนักด้วย
3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

คนอ้วนต้องการการส่งเสริมและให้กำลังใจ เพื่อลดน้ำหนักและคงน้ำหนักตัวไว้ รวมถึงคนอ้วนควรปรับเปลี่ยนนิสัยการกินและการออกกำลังกาย อย่าปล่อยให้เครียด ควบคุมสิ่งกระตุ้นเร้าได้ และแรงหนุนทางสังคม
4. ใช้ยาลดน้ำหนัก

ยาลดน้ำหนัก ใช้เป็นยาเสริมร่วมกับการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย เฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีความหนาของร่างกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไปในผู้ที่ไม่มีโรคหรือปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย หรือ 27 ขึ้นไปในผู้ที่มีโรคหรือปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย (เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดเลือดหัวใจ และหยุดหายใจขณะหลับ)
ยาลดน้ำหนักที่ใช้กันแบ่งออกเป็น 3 อย่างคือ
 
1. ยากดความอยากอาหาร ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เบื่ออาหาร เช่น amphetamine diethylpropion phentermine และ mazindol เป็นต้น
 
อันตรายและผลเสียของยากดความอยากอาหาร
-คนที่กินยานี้แล้วจะมีอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับ เพราะยาไปกระตุ้นสมอง
-ถ้าใช้ไปนานๆ จะทำให้ติดยาและเคยยา ต้องเพิ่มขนาดยามากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผลเท่าเดิม ทำให้เกิดอาการพิษเรื้อรังได้ เช่น สมองเสื่อม ตื่นเต้น หวาดกลัว นอนไม่หลับ ตกใจง่าย ประสาทหลอน และอาจทำให้เกิดโรคจิตได้ง่าย
 
-ถ้าใช้มากเกินขนาดจะเกิดพิษเฉียบพลัน ทำให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย
 
ยากดความอยากอาหารที่ครั้งหนึ่งเคยนิยมใช้กันมาก คือ fenfluramine และ dexfenfluramine แต่เพราะว่ายาเหล่านี้มีส่วนทำให้เกิดโรคของลิ้นหัวใจ จึงถูกยกเลิกการจำหน่ายไป
2. ยาที่เป็นกากอาหาร ทำให้การดูดซึมอาหารน้อยลง ได้แก่ อาหารที่เป็นไฟเบอร์ (MetamucilÒ )
3. ยากลุ่มอื่นๆ ที่ใช้ผิดวัตถุประสงค์เพื่อลดน้ำหนัก
 
3.1 ยาระบาย ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้หลายอย่าง เช่น
 
-เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ทำให้เกิดไตวาย ปากแห้ง อ่อนเพลีย วิงเวียน เฉื่อยชา ปวดกล้ามเนื้อ เกิดตะคริว ปัสสาวะน้อย ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็วและผิดจังหวะ เป็นต้น
 
-ผลเสียต่อลำไส้และการขับถ่าย เช่น กล้ามเนื้อลำไส้สูญเสียการบีบตัว ทำให้ต้องใช้ยาระบายเป็นประจำและเกิดการติดยา
-ไตทำงานผิดปกติ เกิดปัญหาเกี่ยวกับไตและการขับถ่ายปัสสาวะ บางรายเกิดไตวาย
-ผลเสียอื่นๆ เช่น พิษต่อระบบเลือด ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น
 
* * ยาระบายไม่ได้ช่วยลดน้ำหนักตามที่ต้องการ และยังก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้มาก* *
3.2 ยาขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ไตทำงานผิดปกติ โปแตสเซียมและโซเดียมในเลือดต่ำ และร่างกายเป็นด่าง เป็นต้น
 
3.3 ยาทำให้อาเจียน ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ และอาจเกิดโปแตสเซียมในเลือดต่ำได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดต่อมน้ำลายอักเสบและติดเชื้อง่าย
 
3.4 ไทรอยด์ฮอร์โมน พบว่า ไม่สามารถช่วยลดเนื้อเยื่อไขมัน และยังทำให้เกิดอาการพิษต่างๆ ได้มาก เช่น พิษต่อหัวใจ ใจสั่น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เป็นต้น
 

No comments:

Post a Comment