การดูแลรักษาข้อต่อ
ข้อเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการสึกของกระดูกอ่อนผิวข้อ มีกระดูกงอกอยู่ที่ขอบข้อ กระดูกผิวข้ออาจลอกหลุด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง มีอาการปวดในข้อ ข้อผิดรูปร่าง ทำให้เกิดความไม่มั่นคงและรับน้ำหนักไม่ไหว
โรคข้อเสื่อมคืออะไร?
โรคข้อเสื่อมคืออะไร?
โรคที่มีความผิดปกติที่กระดูกอ่อนผิวข้อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนผิวข้อทั้งทางด้านรูปร่าง ทางด้านโครงสร้าง ทางด้านชีวะเคมี และทางด้านชีวะพลศาสตร์ กระดูกอ่อนผิวข้อจะบางลง ทำให้การทำงานของกระดูกอ่อนผิวข้อเสียไป เช่น-หน้าที่ในด้านการกระจายแรงที่มาผ่านข้อ เสียไป-หน้าที่ในการให้กระดูกเคลื่อนผ่านกันอย่างนุ่มนวลเสียไป ทำให้เกิดเสียงเวลาเคลื่อนไหว-มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกที่อยู่ใกล้ข้อ เช่นมีกระดูกงอกออกทางด้านข้างของข้อ (maginal osteophyte)-กระดูกใต้ต่อกระดูกอ่อนมีการหนาตัวขึ้น
ทำให้เกิดอาการต่างๆ ของข้อ เช่น ปวดข้อ ข้อฝืด ข้อแช็ง มีเสียงดังที่ข้อ เวลาที่ข้อมีการเคลื่อนไหว-องศาของการเคลื่อนไหวของข้อลดลง ข้อโตขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะเกิดการพิการตามมา เช่น ข้อหลวม ข้อโก่ง ข้อบิดเบี้ยว รูปร่างของข้อผิดไป
สาเหตุของข้อเสื่อมคืออะไร?
การเสื่อมของเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็น เปลี่ยนแปลงตามอายุ แต่ผลการศึกษาต่อมาพบว่า อาจเป็นผลมาจากสาเหตุทางพันธุกรรมสาเหตุอื่นๆ ที่อาจมีส่วนร่วมในการ เกิดโรคข้อเสื่อม ได้แก่ การใช้ข้อทำงานมากเกินไป หรือเป็นภายหลังการเกิดข้ออังเสบชนิดอื่นๆ ภาวะอ้วน แม้จะไม่ได้เป็น สาเหตุของโรคข้อเสื่อมโดยตรง แต่ก็เป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้เป็นมากขึ้น
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นข้อเสื่อม?อาการปวดมักเริ่มจากอาการปวดตอนเช้า เมื่อบริหารแล้วอาการปวดลดลง หากเป็นมากขึ้นการออกกำลังจะทำให้ปวดมากขึ้น ข้อขยับได้น้อยลง เวลาขยับเกิดเสียงกระดูกเสียดสี ข้อโตขึ้น เนื่องจากมีการสร้างกระดูกที่งอกบริเวณขอบข้อ เอ็นและเนื้อเยื่อหนาตัวขึ้นทำให้เกิดข้อผิดรูป กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรงเวลาเคลื่อนไหว จะทำให้ปวดมากขึ้น
การเสื่อมของเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็น เปลี่ยนแปลงตามอายุ แต่ผลการศึกษาต่อมาพบว่า อาจเป็นผลมาจากสาเหตุทางพันธุกรรมสาเหตุอื่นๆ ที่อาจมีส่วนร่วมในการ เกิดโรคข้อเสื่อม ได้แก่ การใช้ข้อทำงานมากเกินไป หรือเป็นภายหลังการเกิดข้ออังเสบชนิดอื่นๆ ภาวะอ้วน แม้จะไม่ได้เป็น สาเหตุของโรคข้อเสื่อมโดยตรง แต่ก็เป็นส่วนช่วยส่งเสริมให้เป็นมากขึ้น
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นข้อเสื่อม?อาการปวดมักเริ่มจากอาการปวดตอนเช้า เมื่อบริหารแล้วอาการปวดลดลง หากเป็นมากขึ้นการออกกำลังจะทำให้ปวดมากขึ้น ข้อขยับได้น้อยลง เวลาขยับเกิดเสียงกระดูกเสียดสี ข้อโตขึ้น เนื่องจากมีการสร้างกระดูกที่งอกบริเวณขอบข้อ เอ็นและเนื้อเยื่อหนาตัวขึ้นทำให้เกิดข้อผิดรูป กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรงเวลาเคลื่อนไหว จะทำให้ปวดมากขึ้น
สังเกตตัวท่านมีอาการข้อเสื่อมหรือไม่?ในรายที่เริ่มเป็นโรคข้อเสื่อมอาจตรวจไม่พบความผิดปกติ ในรายที่เป็นมานาน จะเริ่มมีโครงสร้างของข้อผิดปกติ ควรเริ่มสังเกตอาการ ใส่ใจดูแลรักษาแต่แรก เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน อาการปวดและทรมานจะยิ่งมากขึ้น จนข้อเสื่อมถาวรต้องได้รับการผ่าตัด
อาการข้อเสื่อมเป็นอย่างไร?
อาการข้อเสื่อมเป็นอย่างไร?
1.ข้อบวมหรือข้อโตขึ้น โดยเฉพาะข้อนิ้วมือเหมือนมีกระดูกงอกบริเวณข้อด้านหลังนิ้ว2.กดเจ็บ ในรายที่มีข้ออักเสบ ปวดขณะเคลื่อนข้อ หรือเวลากดกระดูกข้างข้อที่โตแล้วเจ็บ มีอาการบวมและมีน้ำในข้อ3.มีเสียงดังในข้อขณะเคลื่อนไหว เหมือนผิวของกระดูกเสียดสีกัน4.องศาการเคลื่อนไหวของข้อลดลง เมื่อทิ้งไว้นานการเคลื่อนไหวของข้อยิ่งลดลงมาก ทำให้สูญเสียการทำงาน5.ข้อผิดรูปหรือพิการ เช่น ข้อเข่าโก่ง6.ความมั่นคงของข้อเสียไป เช่น ข้อหลวม7.การเดินผิดปกติ เช่น เดินกระเผลก8.กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง9.มีอาการข้อฝือ เช่น นั่งท่าเดียวนาน ๆ จะมีความรู้สึกฝืด เคลื่อนไหวไม่คล่อง
ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นข้อเสื่อม?
1.ผู้สูงอายุ ตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วยวัยทอง จะมีการสึกกร่อนของข้อมากที่สุด2.เพศหญิง จะมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชาย และมักพบข้อเสื่อมบริเวณเข่าและมือใน ขั้นรุนแรง3.ผู้มีน้ำหนักตัวยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมาก4.นักกีฬา จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อ5.ชาวไร่ ชาวนา มักพบข้อเสื่อมบริเวณบั้นเอว6.พี่อค้า แม่ค้า มักพบโรคข้อเสื่อมของข้อเข่า7.แม่บ้านพบข้อนิ้วเสื่อมมากที่สุด
1.ผู้สูงอายุ ตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วยวัยทอง จะมีการสึกกร่อนของข้อมากที่สุด2.เพศหญิง จะมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชาย และมักพบข้อเสื่อมบริเวณเข่าและมือใน ขั้นรุนแรง3.ผู้มีน้ำหนักตัวยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมาก4.นักกีฬา จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อ5.ชาวไร่ ชาวนา มักพบข้อเสื่อมบริเวณบั้นเอว6.พี่อค้า แม่ค้า มักพบโรคข้อเสื่อมของข้อเข่า7.แม่บ้านพบข้อนิ้วเสื่อมมากที่สุด
การรักษาข้อเสื่อม
ในปัจจุบ้น ยังไม่มีการรักษาใดๆ ที่สามารถทำให้โรคข้อเสื่อมกลับคืนมาเป็นปกติได้ แต่การรักษาอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกัน หรือชลอการลุกลามของโรค ลดอาการเจ็บปวด และทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
การป้องกันข้อเสื่อม ผู้ป่วยควรรู้จักการปฏิบัติตัวที่จะไม่ทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น เช่น การวิ่ง นังพับเพียบในรายที่มีข้อเข่าเสื่อม หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ในรายที่อ้วยมาก ก็ช่วยลดแรงน้ำหนักตัวที่กระทำต่อข้อได้เช่นกัน นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ไม้เท้า จะช่วยลดการถ่ายแรงที่กระทำต่อข้อของขาได้
การบริหารร่างกาย การบริหารร่างกายเป็นส่วน สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคข้อเสื่อม จุดประสงค์ของการบริหารร่างกายก็เพื่อ ทำให้ข้อมีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ เป็นการช่วยลดความเจ็บปวดและป้องกันข้อต่อ ถูกทำลาย
การป้องกันข้อเสื่อม ผู้ป่วยควรรู้จักการปฏิบัติตัวที่จะไม่ทำให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น เช่น การวิ่ง นังพับเพียบในรายที่มีข้อเข่าเสื่อม หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ในรายที่อ้วยมาก ก็ช่วยลดแรงน้ำหนักตัวที่กระทำต่อข้อได้เช่นกัน นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ไม้เท้า จะช่วยลดการถ่ายแรงที่กระทำต่อข้อของขาได้
การบริหารร่างกาย การบริหารร่างกายเป็นส่วน สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคข้อเสื่อม จุดประสงค์ของการบริหารร่างกายก็เพื่อ ทำให้ข้อมีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอ เพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ เป็นการช่วยลดความเจ็บปวดและป้องกันข้อต่อ ถูกทำลาย
การรักษาทางกายภาพบำบัด ด้วยความร้อนและความเย็น ความร้อนความเย็นได้ถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบ และ ข้อเสื่อมมาเป็นเวลานานแล้ว ความร้อนจะช่วยคลายความเกร็งของกล้ามเนื้อและลดความเจ็บปวดได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อแนะนำวิธีที่ดีที่สุดสำหรับท่าน
การใช้ยา มียาลดความเจ็บปวดและยารักษาข้ออักเสบมากมาย ที่แพทย์ได้นำมาใช้ในการรักษาข้อเสื่อม ผู้ป่วยแต่ละราย จะตอบสนองต่อยาแต่ละชนิด ไม่เท่ากัน ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาเหล่านี้ พึงระลึกไว้เสมอว่า ยาเหล่านี้ ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงโรคข้อเสื่อม ให้หายเป็นปกติได้ แต่จะช่วยลดความเจ็บปวด หรืออาการอักเสบของข้อง ส่งเสริมให้ ผู้ป่วยได้ออกกายบริหารเพื่อเพิ่ม ความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อได้มากขึ้น
การผ่าตัด เป็นวิธีสุดท้าย
การใช้ยา มียาลดความเจ็บปวดและยารักษาข้ออักเสบมากมาย ที่แพทย์ได้นำมาใช้ในการรักษาข้อเสื่อม ผู้ป่วยแต่ละราย จะตอบสนองต่อยาแต่ละชนิด ไม่เท่ากัน ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาเหล่านี้ พึงระลึกไว้เสมอว่า ยาเหล่านี้ ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงโรคข้อเสื่อม ให้หายเป็นปกติได้ แต่จะช่วยลดความเจ็บปวด หรืออาการอักเสบของข้อง ส่งเสริมให้ ผู้ป่วยได้ออกกายบริหารเพื่อเพิ่ม ความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อได้มากขึ้น
การผ่าตัด เป็นวิธีสุดท้าย
ที่จะนำมาใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ในรายที่ได้รับการรักษาดังกล่าว ข้างต้น แล้วไม่ได้ผล การผ่าตัด จะช่วยป้องกัน หรือ แก้ไขความผิดปกติจากโรคข้อเสื่อม ลดความเจ็บปวด และทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ จะช่วยเหลือผู้เป็นโรคข้อเสื่อมในระยะท้ายได้ การผ่าตัดจะได้ผลดีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด การรักษาทางยา ร่วมกับกายภาพบำบัด ก่อนและภายหลังการผ่าตัด และที่สำคัญที่สุด คือ ตัวผู้ป่วยเองในการให้ความร่วมมือในการรักษาดังกล่าวข้างต้น
การรักษานอกเหนือจากการใช้ยา
การรักษานอกเหนือจากการใช้ยา
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง ควรได้มีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องทุกวัน นอกเหนือจากการรับประทานยา
การออกกำลังกาย : การออกกำลังกายที่ถูกต้อง และสม่ำเสมอเป็นประจำ เป็นสิ่งสำคัญนอกเหนือจากการรับประทานยา เพราะการออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้ข้อมีความยืดหยุ่น และปกป้องกระดูกข้อพักผ่อน : การพักผ่อนที่เหมาะสมช่วยลดอาการปวดได้ ต้องระวังไม่ให้พักผ่อนมากเกินไป เนื่องจาก จะทำให้กล้ามเนื้อ อ่อนเปลี้ยได้ จากการนอนนาน ๆ
การออกกำลังกาย : การออกกำลังกายที่ถูกต้อง และสม่ำเสมอเป็นประจำ เป็นสิ่งสำคัญนอกเหนือจากการรับประทานยา เพราะการออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้ข้อมีความยืดหยุ่น และปกป้องกระดูกข้อพักผ่อน : การพักผ่อนที่เหมาะสมช่วยลดอาการปวดได้ ต้องระวังไม่ให้พักผ่อนมากเกินไป เนื่องจาก จะทำให้กล้ามเนื้อ อ่อนเปลี้ยได้ จากการนอนนาน ๆ
ความร้อน และความเย็น : การใช้ความร้อน หรือเย็นช่วยลดความเจ็บปวดลงได้ชั่วคราว การให้ความร้อน สามารถใช้ได้ ในรูปน้ำอุ่น, กระเป๋าน้ำร้อน, กระเป๋าไฟฟ้าเป็นต้น ความเย็นสามารถให้ได้ในรูปน้ำแข็ง เจลเย็น (cold pack) เป็นต้น
อาหาร : อาหารที่ถูกโภชนาการ และการควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมกับส่วนสูง ช่วยลดการปวดของข้อบางชนิดได้
อาหาร : อาหารที่ถูกโภชนาการ และการควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมกับส่วนสูง ช่วยลดการปวดของข้อบางชนิดได้
ที่มา http://health.muasua.com
No comments:
Post a Comment