Popular Posts

Sunday, April 7, 2013

ฟันคุดเกิดจากอะไร ค่ารักษา อาการเเรกเริ่ม


ฟันคุดเกิดจากอะไร ค่ารักษา อาการเเรกเริ่ม
 
ฟันคุด คือ ฟันที่ขึ้นไม่ได้ตามปกติ ฟันอาจขึ้นเพียงบางส่วน หรือขึ้นไม่ได้เลยทั้งซี่ ซึ่งฟันอาจฝังตัวในกระดูกขากรรไกรในท่าต่างๆกัน เช่น ตะแคงบ้าง เอียงบ้าง ขวางบ้าง มักเกิดกับฟันแท้ซี่สุดท้ายด้านในสุด หลายคนที่ไปให้หมอฟันตรวจและพบว่ามีฟันคุด หมอฟันจะแนะนำให้ถอนออก แม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงออกก็ตาม ถ้าปล่อยทิ้งไว้ฟันก็ไม่สามารถขึ้นได้ อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดตามมาได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรลังเลใจที่จะถอนฟันคุดออกก่อนที่จะเกิดอาการปวดฟัน
 


สาเหตุของฟันคุด
เนื่องจากขากรรไกรมีขนาดเล็ก หรือ แคบ ไม่มีที่พอจะให้ฟันที่ข้นทีหลัง ขึ้นได้ตามปกติ เนื่องจากฟันข้างเคียงเคลื่อนมาปิดช่องว่างที่เกิดจากการหลุดหรือการถอนฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดนานๆ
จะทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด
สังเกตเนื้อเยื่อบริเวณด้านหลัง ต่อจากฟันซี่สุดท้าย จะมีการเปลี่ยนแปลงอาจจะบวมโต แดง กดแล้วเจ็บอาจปวดด้วยถ้าเป็นมากอาจจะอ้าปากไม่ขึ้นเคี้ยวและกลืนอาหารลำบากอาจไม่เห็นความผิดปกติแต่ทราบโดยดูจากอายุ โดยทั่วไปจะขึ้นเมื่ออายุประมาณ 17 – 25 ปี จึง ต้องถ่ายเอกซ์เรย์เพื่อจะได้ทราบว่า ฟันนี้วางตัวอยู่ในลักษณะที่ผิดปกติหรือไม่
ผลเสียของฟันคุด
เกิดอาการปวดรุนแรง เคี้ยวอาหารหรืออ้าปากลำบากเนื่องจากแรงดันของฟันคุดต่อฟันข้างเคียงเกิดการอักเสบของเหงือกที่หุ้มฟันคุดทำให้ติดเชื้อได้ง่ายและบวมเป็นหนองได้เกิดฟันผุได้ง่ายเพราะอยู่ลึก เกิดการหมักหมมของเศษอาหารทำให้ฟันที่คุดและฟันข้างเคียงผุ ในคนสูงอายุที่กระดูกขากรรไกรบางอาจเกิดเป็นถุงน้ำขึ้นทำให้กระดูกขากรรไกรหักได้ง่ายอาจเกิดอาการปวดในจมูกปวดหูปวดตาหรือปวดศรีษะเรื้อรัง
การรักษาฟันคุด
โดยการถอนฟัน หรือ การผ่าตัดเล็ก ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำในห้องผ่าตัด เพียงใช้ยาชาเฉพาะที่ ไม่ยุ่งยากก็สามารถเอาฟันคุดออกได้แล้วค่ะ
ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด
การผ่าตัดฟันคุดมีจุดประสงค์หลายประการ ได้แก่
1. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบอาจลุกลามไปที่แก้ม ใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้
2. เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ ทำให้ฟันคุดและฟันซี่ข้างๆผุได้ทั้งสองซี่
3. เพื่อลดอาการปวดจากแรงดันของฟัน ฟันคุด ที่ขึ้นไม่ได้แต่พยายามดันตัวขึ้นมาจะทำให้เกิดอาการปวดได้
4.เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก ในบริเวณซอกฟันที่มีเศษอาหารติดนอกจากทำให้เกิดฟันผุได้แล้ว คราบอาหารคราบจุลินทรีย์ที่สะสมรอบๆฟันคุดจะทำให้เหงือกอักเสบ ถ้าคราบสะสมนานๆจนกลายเป็นหินปูนจะทำให้กระดูกบริเวณนี้ถูกทำลาย ฟันซี่ข้างๆโยก ปวดได้
5. เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันคุด ที่ทิ้งไว้นานไปเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบ ฟันคุด อาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบ ๆ บริเวณนั้น
6. เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
7. วัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น ในการจัดฟัน
หลังผ่าตัดฟันคุดจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
คำแนะนำหลังการผ่าตัดฟันคุดมีดังนี้1. กัดผ้าก๊อซนาน 1-2 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ2. วันแรกหลังการผ่าฟันคุด ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลาย เพราะอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้ ถ้าจะบ้วนปากให้บ้วนได้ในวันที่สอง และไม่ควรบ้วนน้ำบ่อยๆหรือบ้วนแรง เพราะจะทำให้เลือดที่แข็งตัวปิดแผลหลุดออก แล้วเลือดใหม่จะไหลซึมออกมาได้3. หลังคายผ้าก๊อซแล้ว ถ้ามีเลือดซึมจากแผลผ่าตัด ให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณ ? ชั่วโมง4. ประคบน้ำแข็งบริเวณแก้ม ในวันที่ทำผ่าตัด ในวันต่อมาประคบน้ำอุ่นจะช่วยลดอาการบวมได้5. รับประทานอาหารอ่อน6. รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง7. งดออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬาหนักๆ8. แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากตามปกติ9. ตัดไหมหลังผ่าตัด 7 วัน10.หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่นเลือดไหลไม่หยุด ปวดแผลมาก กลับมาพบทันตแพทย์ได้ก่อนวันนัดหลังผ่าฟันคุด บริเวณนั้นจะเป็นหลุม ซึ่งจะค่อยๆตื้นขึ้นมาเอง แผลฟันคุดจะเริ่มปิดสนิทใน2-3สัปดาห์ กระดูกด้านล่างจะสร้างเต็มที่ใน2เดือน
ที่มา http://www.thai5dental.com/h_038.aspx?heID=038

No comments:

Post a Comment