มะเร็งลำไส้ใหญ่มีอาการอย่างไร
อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่
•มีเลือดปนมาในอุจจาระ •การมีเลือดออกทางทวารหนัก •อุจจาระมีขนาดเล็กลง •ปวดถ่ายอุจจาระบ่อยๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน •อุปนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น เคยถ่ายอุจจาระทุกวันก็เปลี่ยนไปมีอาการท้องผูก •อาการท้องผูกสลับท้องเสีย •ลำไสอักเสบเรื้อรัง •ปวดมวนท้อง •อาจคลำได้ก้อนในช่องท้อง ซึ่งมักเป็นทางด้านขวาตอนล่าง •อาการปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้าย ปวดอุจจาระตลอดเวลา •น้ำหนักลดโดยไม่ทราบเหตุ •อาจมีอาการซีด อ่อนเพลีย และน้ำหนักตัวลด •ผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของลำไส้อุดตัน คือ ปวดท้องอย่างรุนแรงคล้ายลำไส้ถูกบิด แต่เป็นอยู่เพียงชั่วครู่ แล้วก็ทุเลาไป และกลับเป็นใหม่อีกร่วมกับการไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม เป็นต้น •นอกจากนี้ยังพบว่า อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งตั้งอยู่ เช่น
มะเร็งที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ซึ่งอุจจาระยังเหลวมากนั้น อาการจะปรากฏในรูปของเลือดออก โลหิตจาง อ่อนเพลีย ใจสั่น หายใจลำบาก-มะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ส่วนขวางอาจปรากฏอาการปวดท้อง ท้องอืด เลือดออก-
มะเร็งที่สำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และลำไส้ตรงอาจปรากฏอาการแสดงของอุจจาระ ที่มีก้อนเล็กลง การขับถ่ายไม่สม่ำเสมอ ปวดท้องถ่ายมะเร็งของลำไส้ใหญ่ทุกส่วนมีโอกาสปล่อยเลือดออกมาทั้งเลือดสดๆ หรือเลือดเก่า จึงขอให้สังเกตดู หากมีลักษณะสีของอุจจาระเปลี่ยนไปขอให้ปรึกษาคุณหมอทันทีตุของการเกิดมะเร็งลำไส้
มะเร็งที่สำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และลำไส้ตรงอาจปรากฏอาการแสดงของอุจจาระ ที่มีก้อนเล็กลง การขับถ่ายไม่สม่ำเสมอ ปวดท้องถ่ายมะเร็งของลำไส้ใหญ่ทุกส่วนมีโอกาสปล่อยเลือดออกมาทั้งเลือดสดๆ หรือเลือดเก่า จึงขอให้สังเกตดู หากมีลักษณะสีของอุจจาระเปลี่ยนไปขอให้ปรึกษาคุณหมอทันทีตุของการเกิดมะเร็งลำไส้
1.การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำหรืออาหารที่มีปริมาณ Calcium น้อย ทำให้เกิดอาการท้องผูก/ท้องเสียบ่อยๆและเป็นเวลานาน
2.เกิดก้อนเนื้องอกขึ้นในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะที่บริเวณลำไส้ ซึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยา Oxidation ได้ 3.อาการที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้มาก่อนก็จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้สูงขึ้น
4.รับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณสูง
5.มีการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและไปตกค้างที่ลำไส้
6.เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณลำไส้เกิดการเสื่อมสภาพ สูญเสียความยืดหยุ่นไป ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงที่บริเวณลำไส้ได้อย่างเพียงพอการตรวจเพื่อการวินิจฉัย สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการตรวจอุจจาระ เพื่อดูว่ามีเลือดในอุจจาระ หรือไม่ ซึ่งในระยะแรกอาจจะมีปริมาณน้อยจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และหากรอยโรคอยู่ใกล้ทวาร หนัก
อาจตรวจพบได้โดยการใช้นิ้วสอดเข้าตรวจทางทวารหนัก เมื่อพบเลือดในอุจจาระ หรือสงสัยในอาการ จึง ตรวจเอ๊กซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วยการสวนแป้งและการส่องกล้องเข้าทางทวารหนัก เพื่อตรวจและตัดชิ้นเนื้อ การตรวจเลือดดูระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างโดยเซลล์มะเร็ง คือ CEA (Carcino-embryonic Antigen) จะมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยได้มาก
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ทำได้หลายวิธี เช่น ผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา ขึ้นกับระยะของโรค ตำแน่ง ขนาดของก้อนมะเร็ง และสภาพความแข็งแรงของผู้ป่วย ในปัจจุบันหลังจากมีการศึกษาค้นพบหน่วยพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ จีงได้มีการพัฒนาวิธีการตรวจเพื่อจะบอกว่าผู้ใดมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมสูงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มีวิธีหลักอยู่ 3 วิธี ได้แก่การผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก การใช้ยาไปทำลายเซลล์มะเร็ง และการทำลายเซลล์มะเร็งในตำแหน่งต่างๆ ด้วยการฉายรังสี การเลือกวิธีในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งมากน้อยเพียงใด มีการลุกลาม หรือแพร่กระจายหรือไม่ และสภาพร่างกายของผู้ป่วยขณะนั้นเหมาะสมกับวิธีใดมากที่สุด
การแบ่งระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับวางแผนการรักษา หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์จะแบ่งระยะของโรค โดยแบ่งตามการแพร่กระจายของโรค ระยะที่ 0, 1, 2, 3, 4 ดังนี้
Stage 0 โรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น มะเร็งอยู่เฉพาะผิวของลำไส้ Stage 1 มะเร็งอยู่เฉพาะผนังลำไส้ ยังไม่แพร่ออกนอกลำไส้ Stage 2 มะเร็งแพร่ออกนอกลำไส้ แต่ยังแพร่ไม่ถึงต่อมน้ำเหลือง Stage 3 มะเร็งแพร่ไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง แต่ยังไม่แพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ Stage 4 มะเร็งแพร่ไปอวัยวะอื่นโดยมากไปยังตับและปอด Recurrent เป็นมะเร็งซ้ำหลังจากการรักษา
ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 3, 4 ถือว่าเป็นระยะโรคลุกลาม ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร การผ่าตัดอาจตัดก้อนได้ไม่หมด โอกาสเกิดเป็นซ้ำค่อนข้างสูง แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดภายหลังการผ่าตัดดีมาก แม้ว่าจะอยู่ในระยะโรคลุกลามแล้วก็ตาม โดยสูตรยาที่ใช้ประกอบด้วย irinotecan เป็นหลัก อาจใช้เดี่ยวๆ หรือร่วมกับ 5-flourouracil (5-FU)
ปัญหาคือก่อนหน้านี้ แพทย์ไม่สามารถทราบล่วงหน้าว่าผู้ป่วยรายใดอยู่ในกลุ่มที่จะได้ผลตอบสนองต่อเคมีบำบัดหลังผ่าตัด รายใดอยู่ในกลุ่มที่ไม่ได้ผล จึงทำให้เกิดเป็นความยากลำบากในการตัดสินใจวางแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่โรคลุกลาม ปัจจุบันเกิดความรู้ใหม่พบว่าสิ่งที่ช่วยทำนายผลการรักษาในกรณีดังกล่าวได้คือปริมาณดีเอ็นเอในเซลล์มะเร็ง
ปริมาณดีเอ็นเอในเซลล์มะเร็ง เรียกว่า DNA content พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะลุกลามที่มีดีเอ็นเอเป็นชนิด tetraploid, peri-tetraploid และ multiploid tumours จะตอบสนองดีมากต่อยาเคมีบำบัดสูตร irinotecan + 5-FU ซึ่งให้ยาหลังผ่าตัด ซึ่งผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเกิดผลอย่างใหญ่หลวงต่อการเลือกผู้ป่วยที่แพทย์วางแผนล่วงหน้าได้ว่า จะเป็นกลุ่มที่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดหลังผ่าตัด
ในทางกลับกัน ด้วยแนวคิดและเทคนิกการตรวจ DNA content ของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็จะช่วยให้แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยรายใดจะไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดหลังผ่าตัด และเลือกการรักษาวิธีอื่นแทนซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จในการรักษาโรคดังกล่าว เช่นเลือกใช้วิธีฉายแสงเป็นต้น ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดสูตร irinotecan + 5-FU ได้แก่ ผู้ที่มีดีเอ็นเอเป็นชนิด diploid, peri-diploid และ aneuploid tumours
การป้องกันหรือการลดความเสี่ยง
การป้องกันหรือการลดความเสี่ยง
แม้จะยังไม่มีวิธีกำจัดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 100% แต่ก็มีวิธีลดความเสี่ยงลงได้ เช่น บริโภคอาหารที่อุดมด้วยผักและผลไม้เพื่อให้มีเส้นใยหรือกากอาหารมากขึ้น อุจจาระจะมีขนาดโตขึ้น จนขับถ่ายง่ายขึ้น ไม่คั่งค้างในลำไส้ใหญ่นานเกินไป จนปล่อยสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะได้ทั้งการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังช่วยลดความอ้วน การใช้ฮอร์โมนเสริมในหญิงวัยหมดประจำเดือน ปัจจุบันนี้วงการแพทย์แนะนำให้คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปปรึกษาคุณหมอ เพื่อช่วยพิจารณาความเสี่ยงแล้วให้รับการส่องกล้องตรวจดูลำไส้ใหญ่ปีละครั้ง เพื่อตรวจคัดว่ามีมะเร็ง รือโพลิป หรือไม่เพื่อจะได้วินิจฉัยและรักษาให้หายขาดได้แต่เนิ่นๆ
แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com
No comments:
Post a Comment