Popular Posts

Wednesday, April 10, 2013

โรคสมาธิสั้น (ADHD) คืออะไร


โรคสมาธิสั้น (ADHD) คืออะไร
 
โรคสมาธิสั้น (ADHD) ย่อมาจากคำว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder
เป็นโรคที่พบได้ บ่อยในวัยเด็ก โดยที่เด็กจะไม่สามารถควบคุมสมาธิและการเคลื่อนไหวของตนเอง
ได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ผลการเรียนตกต่ำ แม้ระดับสติปัญญาจะปกติ มีปัญหาด้าน
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ถึงแม้จะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ยังพบว่าหนึ่งในสามของเด็กยังคงมีอาการอยู่บ้างหรือ
บางคนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ยังอาจมีอาการเต็มรูปแบบอีกด้วย ซึ่งยังเพิ่มโอกาสการเกิดพยาธิ สภาพทางจิต
อื่นๆ ตามมา
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
1. Inattentiveness คือ มีช่วงสมาธิสั้นกว่าปกติและมักจะวอกแวกง่าย (distractibility)
2. Hyperactivity คือ มีลักษณะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข ซุกซนผิดปกติ
3. Impulsiveness คือ มีลักษณะหุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจในการทำอะไร
ต่างๆ
การวินิจฉัย (Diagnosis)
สมาคมจิตแพทย์อเมริกา (American Psychiatric Association) ได้จัดทำ guideline
ในการวินิจฉัย เรียกว่า DSM-IV (Diagnostic and Statistic Manual of Mental Disorders)
ซึ่งแบ่งอาการเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ inattention และ hyperactivity-impulsivity หลักการวินิจฉัย
แสดงดังนี้
I. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 2 ข้อย่อยนี้
1. ในการวินิจฉัยต้องมีอาการในกลุ่มของ In- attention อย่างน้อย 6 ข้อ และอาการ
ดังกล่าวต้องเป็นมาต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งความรุนแรงของอาการมีผลกระทบต่อการปรับตัว
Inattention
 -มักละเลยในรายละเอียดหรือทำผิดด้วยความเลินเล่อในการทำงาน การเรียนหรือ
กิจกรรมอื่นๆ
-มักไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
-มักดูเหมือนไม่ฟังเวลาพูดด้วย
-มักทำตามคำแนะนำไม่จบหรือมักทำ กิจกรรมไม่เสร็จ
-มักมีความลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม
-มักหลีกเลี่ยงหรือไม่ชอบกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ
-มักทำของหายบ่อยๆ
-มักวอกแวกง่าย
-มักลืมบ่อยๆ
2. ในการวินิจฉัยต้องมีอาการในกลุ่มของ hyperactivity-impulsivity อย่างน้อย 6 ข้อ
และอาการดังกล่าวต้องเป็นมาต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งความรุนแรงของอาการมีผลกระทบ
ต่อการปรับตัว
Hyperactivity
-มักบิดมือหรือเท้า หรือนั่งบิดไปมา
-มักลุกจากที่ในห้องเรียนหรือในที่อื่นที่ควร จะนั่ง
-มักวิ่งไปมา ปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม (ในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อาจเหลืออาการ
เพียงความรู้สึกกระวนกระวายหรือกระสับกระส่าย)
-มักไม่สามารถเล่นแบบเงียบๆ ได้
-มักเคลื่อนไหวตลอดเวลา
-มักพูดมากเกินไป
Impulsivity
-มักผลีผลามตอบก่อนจะถูกถามจบ
-มักไม่สามารถรอคอยในแถวได้
-มักพูดแทรกหรือก้าวก่ายเรื่องของคนอื่น
II. มีอาการของ ADHD บางอย่างปรากฏก่อนอายุ 7 ปี
III. อาการที่ปรากฏสามารถสังเกตเห็นได้อย่างน้อย 2 สถานที่ขึ้นไป เช่น ที่บ้าน
ที่โรงเรียน
IV. อาการที่ปรากฏก่อให้เกิดผลเสียต่อการใช้ชีวิตในสังคม การเรียน หรืออาชีพการงาน
สาเหตุของโรค
สาเหตุที่แน่นอนยังไม่ทราบแน่ชัดแต่เป็นที่ค่อนข้างแน่ใจแล้วว่า สาเหตุของ ADHD
ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่เกิดจากหลายๆ สาเหตุ ดังนั้นปัจจัยต่างๆ ที่มีการศึกษาว่า
อาจเกี่ยวข้องกับการเกิด ADHD พอสรุปได้ดังนี้คือ
1. พันธุกรรม
2. สารสื่อประสาท
3. การทำงานผิดปกติของสมองส่วน frontal lobe
4. สมองถูกกระทบกระเทือน
5. ภาวะตื่นตัวของระบบประสาทผิดปกติ
6. การไหลเวียนของโลหิตในสมองผิดปกติ
7. คลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ
8. ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
9. ปัจจัยทางจิตสังคม
10. ปัจจัยด้านอื่นๆ
ในที่นี้จะเน้นถึงสาเหตุของโรคที่เกิดจากสารสื่อประสาทคือ dopamine เนื่องจากมีการ
ใช้ยาในการรักษา ให้ผลในการรักษาดีและสามารถอธิบายกลไกการออกฤทธิ์ของยาได้
Dopamine
เนื่องจากการรักษา ADHD ได้ผลดีชัดเจนด้วยยา dopamine agonist เช่น
Methylphenidate (Ritalin®), Amphetamine และ Monoamine oxidase inhibitor
(MAOI) ซึ่งออกฤทธิ์โดยการเพิ่มการหลั่งของ dopamine จากปลายประสาทและป้องกันการ
ดูดซึมกลับของ dopamine ทำให้มี dopamine ใน synaptic cleft มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม
สาเหตุของ ADHD ก็ไม่สามารถอธิบายจากการที่มี dopamine ต่ำเพียงอย่างเดียว เพราะไม่ใช่
dopamine agonist ทุกตัวจะรักษา ADHD ได้ผล อีกทั้ง haloperidol ซึ่งมีฤทธิ์ลด dopamine
ก็สามารถลดอาการของ ADHD ได้อีก แสดงว่าสาเหตุของ ADHD ที่เกิดจากการขาด dopamine
เองยังอาจมีความสัมพันธ์กับสารสื่อประสาทตัวอื่นๆ อีกเช่น Norepinephrine, Serotonin เป็นต้น
การรักษา
1. การรักษาด้วยยา (Pharmaco therapy)
2. พฤติกรรมบำบัด (Behavior therapy)
3. การรักษาทางการศึกษา (Education therapy)
4. การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
การรักษาด้วยยาที่นิยมใช้คือ Methylphe-nidate (Ritalin®) เนื่องจากออกฤทธิ์
ได้เร็ว เห็นผลชัดเจนและมีความปลอดภัยสูง เด็กที่เป็นโรค ADHD ร้อยละ 75-80 จะตอบสนอง
ต่อยาตัวนี้ ดังนั้นในที่นี้จะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับยา methylphenidate
Methylphenidate
ชื่อการค้า : Ritalin®
รูปแบบยา : 5, 10, 20 mg ต่อเม็ด และแบบ extended release 20 mg ต่อเม็ด
ข้อบ่งใช้ : 1.รักษาโรคสมาธิสั้น 2.รักษาโรคเหงาหลับ (Narcolepsy)
ขนาดและวิธีใช้ :
1. ADHD ในผู้ป่วยเด็กโดยปกติจะให้ในปริมาณน้อยๆ ก่อน เช่น 5 mg ก่อนอาหารเช้า
และกลางวัน ซึ่งอาจค่อยๆ เพิ่มขนาดยาได้อีก แต่ขนาดยาไม่ควรเกิน 60 mg ต่อวัน ถ้าปรับขนาด
ยาสูงสุดแล้ว ในช่วงเวลา 1 เดือน ยังไม่ให้ผลการรักษา ก็ควรจะเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่น
2. Narcolepsy ขนาดยาปกติคือ 10 mg วันละ 2 หรือ 3 ครั้ง โดยให้รับประทานก่อน
อาหาร 30-45 นาที
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
Methylphenidate ออกฤทธิ์กระตุ้น CNS และ respiratory เช่นเดียวกับ
amphetamines ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบแน่ชัด
เภสัชจลนศาสตร์
methylphenidate ถูกดูดซึมได้ดีทาง GI-tract และมี plasma half life = 1-3 hr
แต่ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยายังคงอยู่ 4-6 hr ประมาณ 80 % ของขนาดยาที่ให้ จะถูก metabolize ไป
เป็น ritalinic acid และถูกขับถ่ายทางปัสสาวะ
อาการไม่พึงประสงค์
hypersensitivity : ผื่น (rash), urticaria, exfoliative dermatitis
CNS : ปวดศรีษะ มึนงง
Cardiovascular : ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง, cardiac arrthymia
GI-tract : คลื่นไส้, อาเจียน, ความอยากอาหารลดลง
อื่นๆ : นอนไม่หลับ ซึ่งอาจควบคุมโดยไม่ให้ยาในมื้อเย็น
ปฏิกิริยาระหว่างยา
Guanethidine : ทำให้ฤทธิ์ในการลดความ ดันโลหิตของ guanethidine ลดลง
MAOI : จะเสริมฤทธิ์ทำให้มีอาการปวดหัว, เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดิน
อาหารมากขึ้น ซึ่งผลนี้จะเป็นต่อไปอีกหลายสัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะหยุดยากลุ่ม MAOI แล้ว
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในผู้ป่วย glaucoma, Tourette’s disorder และผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรค
วิตกกังวล, มีอาการสั่น (agitation) เนื่องจากยาอาจทำให้มีอาการแย่ลง
เอกสารอ้างอิง
1. ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ. โรคสมาธิสั้น.ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล.
2. นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรศฐศิลป์. วงการยา. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. Drug fact and Comparison
4. AHFS Drug information
5. http://www.drugs.indiana.edu/pub-lications/iprc/factline/ritalin.html
6. http://www.fda.gov/fdac/departs/ 2000/600_upd.html
7. http://www.newideas.net/
ขอบคุณบทความจาก http://www.gpo.or.th/rdi/html/adhd.html

No comments:

Post a Comment