สุราส่งผลต่อร่างกายอย่างไร
“สุรา” สิ่งบันเทิงใจของนักดื่มทั้งหลายในทุกเทศกาลงานเลี้ยงต่างๆ สุราและเครื่องดื่ม ผสมแอลกอฮอล์แต่ละชนิด เป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมความเข้มข้นของแอลกอ ฮอล์แตกต่างกัน เช่น เหล้ามีแอลกอฮอล์ 40% ไวน์มีแอลกอฮอล์ 12% และเบียร์มีแอลกอฮอล์ 5%
โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะกดประสาท ทำให้สมองทำงานช้าลง พูดจาอ้อแอ้ เดินไม่ตรง ทาง ความคิดสับสน และเป็นหนึ่งสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุ เกิดความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และในภาคเศรษฐกิจ แม้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างก็พยายามออกมารณรงค์ ลด ละ เลิก แต่สถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในเทศกาลต่างๆ ก็ยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง
นายแพทย์ชาย มหิทธิภาคย์ แพทย์ประจำศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเวชธานีให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า สุราหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป และติดต่อกันเป็นเวลานานย่อมมีผลเสียต่อสุขภาพ
นอกจากจะทำให้ผู้ดื่มขาดสติ แล้วยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ มากมาย ได้แก่ กลุ่มโรคทางระบบประสาท ทำให้ความจำเสื่อม หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เสียการควบคุมด้านอารมณ์ โรคนอนไม่หลับ กระบวนการการรับรู้ ความ เข้าใจบกพร่อง ขาดสติ จิตหลอน ประสาทหลอน โรคคลั่งเพ้อ เกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง การทำหน้าที่ของสมองผิดปกติส่งผลถึงการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน ขา อ่อนแรง ปลายประสาทพิการ โรคซึมเศร้า โรค ลมชัก และโรคระแวงเพราะสุรา
กลุ่มโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งในปากและช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งเต้านมในผู้หญิง และมะเร็งรังไข่ กลุ่มโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน โรคเบาหวาน (เกิดจากตับอ่อนอักเสบ) โรคตับอักเสบ โรคตับแข็งจาก สุรา โรคตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง
โรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือโรคกระเพาะอักเสบจากสุรา เพราะแอลกอฮอล์จะทำลายสารเคลือบกระเพาะ ทำให้เกิดแผลจนกระเพาะทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะ สังเกตได้จากการถ่ายอุจจาระ หรืออาเจียนเป็นเลือด โรคต่อมหมวกไต กระดูกพรุน โรคเกาต์ โรคพิษสุราเรื้อรัง
กลุ่มโรคหลอดเลือดและหัวใจ คนที่ดื่มสุราเป็นประจำมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนที่ดื่มน้อยกว่า เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ และยังอาจทำให้เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อหรือเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจหรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมจากสุรา โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สมอง ส่วนนอกลีบฝ่อ อาการระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกิน โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจล้มเหลว
ผลกระทบต่อลูกน้อยสำหรับนักดื่มที่กำลังตั้งครรภ์ ส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย ปากแหว่งเพดานโหว่ ดวงตาและกรามมีขนาดเล็ก สมองเล็กกว่าปกติ หัวใจผิดปกติแต่กำเนิด แขนขาเจริญเติบโตผิดปกติ ความสามารถในการมองเห็น น้อยกว่าทารกปกติ ร้องกวนโยเยง่าย รูปร่างแคระแกรน นอนหลับยาก และมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ
หลายคนยังสงสัยว่า ดื่มมากขนาดไหนที่เรียกว่า “ติดสุรา” อาจแบ่งให้เห็นชัดเจนได้ 3 ระดับ คือ ระดับแรก ดื่มเฉพาะตอนที่เข้าสังคม ระดับที่สอง ดื่มเป็นระยะ และกลุ่มที่สาม ดื่มจนติด หรือที่เรียกว่า แอลกอฮอล์ – ลิซึ่ม คนที่ดื่มจนติดแล้ว มักจะดื่มเป็นประจำทุกวัน และเพิ่มปริมาณในการดื่มมากขึ้น ถ้าหยุดดื่มจะมีอาการ เช่น ใจสั่น มือสั่น คล้ายจะเป็นลม
สำหรับคนที่ดื่มจนติดแล้วต้องการเลิกเหล้า ขอแนะนำว่าไม่ควรเลิกแบบทันทีทันใด แต่ควรลดปริมาณการดื่มลงทีละน้อย หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าได้ ควรรับประทานอาหารให้อิ่มท้อง พยายามอย่าให้ท้องว่าง ขณะเดียวกันควรหันไปดื่มน้ำผลไม้แทน และพยายามทำกิจกรรมต่างๆ หรือเล่นกีฬา ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง กรณีที่มีอาการติดเหล้ารุนแรงควรมาพบแพทย์เพื่อทำการบำบัดรักษา และรับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี
ผลของการดื่มสุรา
๑. ทำลายสุขภาพ
สุราสามารถทำให้เกิดโรคต่างๆมากมายประมาณ ๕๐ % ของผู้ดื่มมักจะประสบกับโรคสมองฝ่อในที่สุด
ช่องปากและลำคอ เกิดระคายเคืองในช่องปากและลำคอที่นักดื่มเรียกว่า เหล้าบาดคอ
ผิวหนังและหลอดเลือด
ฤทธิ์ของแอลกอฮฮล์
ที่ส่งผลให้เห็นอย่างชัดเจนเริ่มได้ตั้งแต่ผวหนังหลอดเลือดที่ขยายตัวจากฤทธิ์แอลกอฮฮล์ ส่งผลให้หน้าแดง
ตัวแดง
ในทางตรงกันข้ามผู้ดื่มบางรายอาจจะมีอาการเส้นโลหิตหดตัวทำให้หน้าซีดซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตมากกว่า
เซลล์
เมื่อมีการหมุนเวียนของเลือดเร็วขึ้นไปยังเซลล์ต่างๆ
ทั่วร่างกายเซลล์ทุกเซลล์จะทำงานไวขึ้นกว่าปกติเกิดความจำเป็นใน ช่วงระยะสั้นๆ
ทำให้การทำงานของอวัยวะแปรปรวนจากปกติ ในเวลาต่อมาและกดการทำงานของเซลล์ให้ทำงานน้อยลง
และทำลายเซลล์ไปในที่สุด
สมอง
แอลกอฮฮล์ มีพิษโดยตรงต่อสมองของคนเรา ทำให้เซลล์ขยายตัวมากขึ้นเกิดอาการที่เรียกว่า สมองบวม
นานเข้าจะเกิดการสูญเสียชองเหลวในเซลล์สมอง เซลล์สมองลีบเหี่ยว เสื่อมและตายลง
จากการชันสูตรศพผู้เยชีวิตจาก สุรา จะพบว่าเนื้อสมองลีบเหี่ยว มีสีซีดจางจาก การถูกทำงายโดยแอลกอฮฮล์
อย่างชัดเจน
หัวใจ
หัวใจจะถูกกระตุ้นให้ฉีดสูบโลหิตเร็วขึเนทำงานหนักมากขึ้นในระยะยาวจะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อแปรปรวนส
ารที่มีหน้าที่สำคัญในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดต่ำลงทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นกล้ามเนื้อหัวใจ
จะเริ่มหนาขึ้น เกิดโรคหัวใจโตมีอาการหัวใจวายหรือหัวใจล่มเหลวตามมาในที่สุด
กระเพาะอาหาร
โรคที่พบได้บ่อยในหมู่นักดื่มคือโรคกระเพาะอาหาร แอลกอฮฮล์ ในระดับความเข้มข้นต่ำเพียงร้อยละ ๑๐
จะทำให้มีการ กระตุ้นน้ำย่อยในกระเพราะอาหาร ส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะและลำไส้ ปกติแอลกอฮฮล์
ในความเข้มข้นสูงจะทำให้เกิดอาการเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบและเฉียบพลัน
เมื่อดื่มจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาเจียนออกมาเป็นสีดำ อุจจาระดำ
อาการน่ากลัวที่เกิดขึ้นได้ในผู้ดื่มบางราย ก็คืออาการฉีกขาดของเยื่อหลอดอาหาร อันเกิดจากการอาเจียน
หรือขย้อนอย่างรุนแรง ผู้ป่วยอาเจียนมีเลือดปนออกมาบ่อยๆ อาจเสียเลือดมาก
ต้องทำการรักษาโดยผ่าตัดเย็บรอยฉีกขาดของเยื่อบุดังกล่าว……
ตับ
เนื่องจากตับเป็นแหล่งสันดาปที่สำคัฐของแอลกอฮฮล์ ตับจึงเป็นอวัยวะที่ได้รับพิษจากเหล้ามากที่สุด
เซลล์ตับที่ถูกทำลายจะมีไขมันเข้าไปแทนที่
ทำให้เกิดการคั้งของไขมันในตับซึ่งเป็นสาเหตุแรกๆของอาการตับอักเสบ
ส่งผลให้เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้นเมื่อเซลล์ของตับตายไประดับหนึ่ง
จนมีการสร้างผังเผือดขึ้นที่บริเวณนั้นในลักษณะคล้ายแผลเป็นทำให้เนื้อตับที่เคยอ่อนนุ่ม
แข็งตัวขึนจนเกิดอาการที่เรียกว่า ตับแข็งในที่สุด ตับเปรียบเสมือนโรงงานสร้างพลังงาน ให้แก่ร่างกาย
สร้างสารเคมีจำเป็น เช่น น้ำดี วิตามิน สารที่ทำให้เลือดแข็งตัวทั้งยังช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย
การสูญเสียเซลล์ตับทุกเซลล์เป็นการสูญเสียเซลล์ที่ถาวรและไม่มีการสร้างขึนมาทดแทน ความรุนแรงของ
โรคตับแข็ง จึงเกิดขึ้นกับปริมาณของ เนื้อตับที่สูญเสียไป ยิ่งเนื้อตับถูกทำลายมากเท่าไร
โอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
๒. การดื่มสุรามีผลดังนี้บทต่อ
สามารถทำให้ทารกมีความผิดปกติเจริญเติบโตช้ามากมีภาวะปัญญาอ่อนได้ถ้ามารดาดื่มเครื่องประเภทมีแอลกอฮฮล์
๓. ทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวขาด ความรัก ความอบอุ่น มีการทะเลาะวิวาทกัน
๔. ทำให้เสียทรัพย์สินเงินทอง
๕. ทำให้เสียบุคลิกภาพ ตัดสินใจไม่ดี บั่นทอนความก้าวหน้า
๖. ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เพราะเมาแล้วขับ หรือขับรถในขณะมึนเมาสุรา