แน่นท้องมีวิธีการรักษาอย่างไร
หลายท่านคงเคยเกิดอาการไม่สบายท้อง จุกเสียด รู้สึกแน่นท้องกันมาบ้าง ตำแหน่งที่เกิดอาการคือ ช่วงท้องตอนบนตำแหน่งที่กระเพาะอาหารอยู่ อาการที่เกิดมักจะเป็นๆ หายๆ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะมีกรดเกินในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารเป็นแผลรวมถึงภาวะกรดย้อนกลับจากกระเพาะอาหารมาที่หลอดอาหาร ทำให้จุกแน่นบริเวณหน้าอกได้ รวมถึงภาวะอาหารไม่ย่อยหรือย่อยลำบาก ซึ่งอาการที่พูดถึงเป็นอาการไม่ใช่เป็นโรค
การรักษาส่วนใหญ่ คือ การให้ยาประเภทลดกรด มักจะตอบสนองต่อการรักษาได้ดี หลังจากทานยาอาการก็จะหายไป ซึ่งอาการจุกเสียดแน่นท้องอย่างที่กล่าวพบได้บ่อย และมักจะเป็นๆ หายๆ มีข้อสังเกตว่าอาการจุกแน่นดังกล่าวอาจจะนำไปสู่โรคร้ายแรงได้ เช่น การมีแผลขนาดใหญ่ในกระเพาะอาหาร โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
อาการที่ควรจะสังเกต คือ
อาการที่ควรจะสังเกต คือ
1. ในบุคคลที่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไปที่พบอาการจุกเสียด แน่นท้องบ่อยๆ
2. ในบุคคลที่พบว่าน้ำหนักตัวลดลงไปเรื่อยๆ โดยไม่ตั้งใจลด
3. มีปัญหาในการกลืน
4. มีภาวะอาเจียนอย่างรุนแรง
5. ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
6. รู้สึกหรือคลำก้อนได้บริเวณกระเพาะอาหาร
ถ้ามีสัญญาณอันตรายเหล่านี้เกิดขึ้นหรือมีอาการปวดเรื้อรังทั้งๆ ที่รับประทานยาอยู่ ก็ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจโดยการส่องกล้อง แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่เกิดอาการ ให้รีบดูแลรักษาตัวเองดังต่อไปนี้
1. รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ เพื่อเป็นการพักกระเพาะอาหาร
2. รับประทานอาหารทานช้าๆ ค่อยๆ เคี้ยว
3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดหรือมีรสเปรี้ยว อย่างเช่น ส้ม มะเขือเทศ
4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน
2. ในบุคคลที่พบว่าน้ำหนักตัวลดลงไปเรื่อยๆ โดยไม่ตั้งใจลด
3. มีปัญหาในการกลืน
4. มีภาวะอาเจียนอย่างรุนแรง
5. ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
6. รู้สึกหรือคลำก้อนได้บริเวณกระเพาะอาหาร
ถ้ามีสัญญาณอันตรายเหล่านี้เกิดขึ้นหรือมีอาการปวดเรื้อรังทั้งๆ ที่รับประทานยาอยู่ ก็ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจโดยการส่องกล้อง แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่เกิดอาการ ให้รีบดูแลรักษาตัวเองดังต่อไปนี้
1. รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ เพื่อเป็นการพักกระเพาะอาหาร
2. รับประทานอาหารทานช้าๆ ค่อยๆ เคี้ยว
3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดหรือมีรสเปรี้ยว อย่างเช่น ส้ม มะเขือเทศ
4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน
5. ถ้ามีความเครียด ควรรีบหาทางขจัดออกไปเพราะความเครียดอาจจะทำให้อาหารไม่ย่อย
6. หยุดสูบบุหรี่หรือสูบให้น้อยลง ไม่ควรสูบทันทีหลังรับประทานอาหาร
7. ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์
8. หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่แน่นเกินไปที่จะไปกดทับบริเวณกระเพาะอาหาร เพราะจะทำให้กรดในกระเพราะอาหารย้อนกลับมาในหลอดอาหารได้
9. ไม่ควรออกกำลังกายทันทีหลังรับประทานอาหารหรืออิ่ม ควรออกกำลังกายก่อนรับประทานอาหารหรือ 1 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร
10. ไม่ควรนอนราบทันทีหลังรับประทานอาหาร
11. สำหรับอาหารมื้อเย็น หลังจากรับประทานอาหารแล้วควรรอ 3ชั่วโมงก่อนเข้านอน
12. ควรนอนหนุนหมอนสูงประมาณ 6 นิ้ว เพื่อช่วยให้กรดในกระเพาะอาหารไม่ย้อนกลับ
แต่ถ้ามีสัญญาณที่ไม่ดี เช่น อาเจียนเป็นเลือด ปวดท้องไม่หายหรือมีอาการปวดมาก น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ ถ่ายเป็นเลือด ให้สังเกตอาการจุกแน่นยอดอกจะไม่ใช่อาการกรดย้อนขึ้น อาจเป็นภาวะหัวใจขาดเลือดก็ได้ ถ้ามีอาการจุกแน่นร่วมกับหายใจขัด ปวดร้าวหัวไหล่ซ้าย เหงื่อออก บ่งชี้ว่าอาจมีอาการผิดปกติของหัวใจ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อได้รับการรักษาทันที สนับสนุนข้อมูลโดย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
No comments:
Post a Comment